ความหมายของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
| ||
วิทยุกระจายเสียง หมายถึง การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อส่งสารกระจายออกอากาศไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ ได้รับโดยตรง
วิทยุโทรทัศน์ หมายถึง กระบวนการถ่ายถอดเสียงและภาพ โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงและภาพเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ หรือส่งเสียงและภาพทางสาย เพื่อส่งสารไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ โดยตรง เป็นการส่งสัญญาณไฟฟ้าของภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน | ||
บทบาทและหน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน
| ||
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร (2546, หน้า 99-100, 110-122) ให้ความรู้เรื่อง บทบาทและหน้าที่ ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
| ||
บทบาทของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน
| ||
บทบาทของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน วิเคราะห์ได้ดังนี้
| ||
1. บทบาทในการเป็นภาพสะท้อนของสังคม
| ||
วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถเป็น “ภาพสะท้อน” ของสังคมได้โดยทำหน้าที่รายงานความเป็นไป ในสังคม บนพื้นฐานของความเป็นจริง ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของสังคม วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ก็จำเป็น ต้องตรวจตรา ตรวจสอบความเป็นไปในสังคมด้วยว่า มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีก็ต้องรายงานให้สังคมได้รับรู้อย่างทันท่วงทีเช่นกัน
| ||
2. บทบาทในการเป็นตัวแทนของคนทุก ๆ กลุ่มในสังคม
| ||
สังคม วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ต้องสามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคน หรือกลุ่มคนในสังคมโดยมีการนำเสนอข่าวสาร เรื่องราว หรือประเด็นปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานของความ สำคัญที่เท่าเทียมกัน แทนที่จะนำเสนอแต่เฉพาะข่าวสาร เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เป็น “กระแสหลัก” แต่เพียงอย่างเดียว
| ||
3. บทบาทในการสร้างสาธารณมติ
| ||
คำว่า เป็น “สาธารณมติ” หมายถึง ความคิดเห็นและทัศนคติของกลุ่มสาธารณมติ ที่มีต่อประเด็นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การสร้างสาธารณมติจึงเป็นการสะท้อน ให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนในสังคม วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์สามารถ สร้างสาธารณมติ ได้โดย หยิบยกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาพูดถึง และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็น ต่อประเด็นปัญหานั้นอย่างเท่าเทียมกัน
|
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น