จากไปไม่มีกลับ
เวลามีเขาอยู่ดูเฉยๆ
ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปอย่างนั้น
ไม่คิดสร้างรักให้ผูกพัน
ให้ผ่านไปวันๆเท่านั้นเอง
เมื่อเขาจากไปไม่มีกลับ
ไปให้ลับหายไปจากใจฉัน
หัวใจนี้ร่ำร้องขอเขานั้น
อยู่กับฉันสักนาทีไม่ได้เลย
ความหมายของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
| ||
วิทยุกระจายเสียง หมายถึง การแพร่สัญญาณเสียงออกอากาศโดยใช้คลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อส่งสารกระจายออกอากาศไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ ได้รับโดยตรง
วิทยุโทรทัศน์ หมายถึง กระบวนการถ่ายถอดเสียงและภาพ โดยวิธีเปลี่ยนคลื่นวิทยุ ซึ่งเป็นคลื่นเสียงและภาพเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกสู่อากาศ หรือส่งเสียงและภาพทางสาย เพื่อส่งสารไปถึงมวลชนที่อยู่ในถิ่นต่าง ๆ โดยตรง เป็นการส่งสัญญาณไฟฟ้าของภาพ และเสียงในเวลาเดียวกัน | ||
บทบาทและหน้าที่ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน
| ||
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร (2546, หน้า 99-100, 110-122) ให้ความรู้เรื่อง บทบาทและหน้าที่ ของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้
| ||
บทบาทของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน
| ||
บทบาทของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในฐานะสื่อมวลชน วิเคราะห์ได้ดังนี้
| ||
1. บทบาทในการเป็นภาพสะท้อนของสังคม
| ||
วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์สามารถเป็น “ภาพสะท้อน” ของสังคมได้โดยทำหน้าที่รายงานความเป็นไป ในสังคม บนพื้นฐานของความเป็นจริง ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นภาพสะท้อนของสังคม วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ก็จำเป็น ต้องตรวจตรา ตรวจสอบความเป็นไปในสังคมด้วยว่า มีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ หากมีก็ต้องรายงานให้สังคมได้รับรู้อย่างทันท่วงทีเช่นกัน
| ||
2. บทบาทในการเป็นตัวแทนของคนทุก ๆ กลุ่มในสังคม
| ||
สังคม วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ต้องสามารถสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคน หรือกลุ่มคนในสังคมโดยมีการนำเสนอข่าวสาร เรื่องราว หรือประเด็นปัญหาต่าง ๆ บนพื้นฐานของความ สำคัญที่เท่าเทียมกัน แทนที่จะนำเสนอแต่เฉพาะข่าวสาร เรื่องราว หรือเหตุการณ์ที่เป็น “กระแสหลัก” แต่เพียงอย่างเดียว
| ||
3. บทบาทในการสร้างสาธารณมติ
| ||
คำว่า เป็น “สาธารณมติ” หมายถึง ความคิดเห็นและทัศนคติของกลุ่มสาธารณมติ ที่มีต่อประเด็นหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง การสร้างสาธารณมติจึงเป็นการสะท้อน ให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มคนในสังคม วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์สามารถ สร้างสาธารณมติ ได้โดย หยิบยกประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาพูดถึง และเปิดโอกาสให้สาธารณชนได้แสดงความคิดเห็น ต่อประเด็นปัญหานั้นอย่างเท่าเทียมกัน
|
ความหมายของซอฟต์แวร์
การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์ ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) |
ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น |
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ • รีจิสเตอร์ • หน่วยความจำภายนอก • สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9) • บัส • หน่วยความจำแคช • Passing Math Operation |
คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" | |||
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้ |